4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล( Data Protection Law)




      - เพื่อก่อให้เกิด การรับรอง สิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ ในทาง มิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่าง สิทธิขั้นพื้นฐานใน ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ 


    ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคล

    ➤  ข้อมูลทั่วไป ( Non-Sensitive data
         ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ 

    ➤  ข้อมูลห้ามจัดเก็บ ( Sensitive data )
         ข้อมูลที่กระทบความรู้สึกของประชาชน เช่น ข้อมูลด้านสุขภาพ ความคิดทางการเมือง 


    สิทธิของเจ้าของข้อมูล

    ➤  สิทธิได้รับแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    
    ➤  สิทธิในการให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

    ➤  สิทธิการเข้าถึง  ตรวจสอบ และร้องขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล


    สาระสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    ➤  ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับวัตถุประสงค์ที่จะใช้หรือเปิดเผย 

    ➤  ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะใช้หรือเปิดเผยจะต้องถูกต้อง ครบถ้วน และเป็น   ปัจจุบัน

    ➤  รักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือในความควบคุมของตน

    ➤  ยอมรับสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิ ในการแก้ไขข้อมูลของเจ้าของข้อมูล  ส่วนบุคคล